กู่น้อยประกอบด้วยปราสาทประธานที่สร้างด้วยศิลาแลงและหินทรายสีแดง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ด้านทิศเหนือมีฐานอาคารศิลาแลงก่อยื่นจากปราสาทประธานออกไป เป็นอาคารโถง มีเครื่องบนเป็นไม้ ล้อมรอบด้วยแนวกำแพงศิลาแลง และมีคูน้ำรูปเกือกม้าล้อมรอบอีกหนึ่งชั้น บริเวณกึ่งกลางกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกมีประตูซุ้มหรือโคปุระ ลักษณะเป็นอาคารโถง มีเสาไม้รองรับหลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง
โบราณวัตถุสำคัญได้แก่ ประติมากรรมหินทราย รูปพระศิวะพระนารายณ์ และเศียรทวารบาล ซึ่งเป็นศิลปกรรมแบบบาปวนและนครวัดของเขมร
กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 52 วันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2478 และกำหนดขอบเขตโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 172 วันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2525 พื้นที่ 8 ไร่ 2 งาน 94 ตารางวา
จากที่เห็นมุมไกลเมื่อสักครู่ ตอนนี้เราเข้าสู่มุมใกล้บ้าง
ซ้ายบน – มุขด้านซ้ายของประตูซุ้มหรือโคปุระทางทิศตะวันออก
ขวาบน – ปราสาทประธานตั้งอยู่ตรงกลางในกำแพงแก้ว
ซ้ายกลางบน – ปราสาทประธานทางด้านทิศใต้
ขวากลาง – พื้นที่ด้านทิศตะวันตก (จากภาพ ทางซ้ายคือ ด้านหลังของปราสาท ทางขวาคือ ประตูซุ้มหรือโคปุระทางทิศตะวันตก)
ซ้ายกลางล่าง – ตอนนี้ทีมงานอยู่บนประตูซุ้มทิศตะวันตก แล้วมองไปที่กำแพงแก้ว
ซ้ายล่าง – บรรยากาศบนปราสาทประธาน
ขวาล่าง – ทีมงานอยู่บนปราสาทประธาน แล้วมองไปที่ประตูซุ้มหรือโคปุระทางทิศตะวันออก(หรือประตูซุ้มที่เราเข้ามาตั้งแต่ตอนแรก) (จากภาพ ประตูซุ้มนี้ก่อเป็นมุขสี่ด้านหรือจตุรมุข)
TODAY | THIS MONTH | TOTAL | |||
163 | 1302 | 286166 |