วัดพระลอย

คำอธิบาย


วัดพระลอยเป็นวัดที่เก่าแก่และสำคัญมากของจังหวัดสุพรรณบุรี สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในช่วงกลางสมัยอู่ทอง ชื่อวัด"พระลอย"มีที่มาจากการที่มีพระพุทธรูปปางนาคปรกลอยมาตามแม่น้ำสุพรรณบุรี ชาวบ้านจึงทำการอาราธนาขึ้นมา แล้วสร้างวัดขึ้น ซึ่งแต่เดิมวัดนี้เรียกว่า“วัดชลอ” แต่ต่อมาก็เปลี่ยนเป็น”วัดพระลอย”แทน นอกจากประวัติของพระลอยแล้ว ยังมีอุโบสถเก่าแก่สมัยพระเจ้าอู่ทองอายุกว่า 700 ปีอยู่ในวัดพระลอยด้วย


วัดพระลอยจัดเป็นวัดที่เก่าแก่มาก แม้ไม่มีใครทราบประวัติที่แน่ชัดว่าสร้างในสมัยใดและใครเป็นคนสร้าง แต่หากดูจากซากอุโบสถ ก้อนอิฐ และใบเสมาแล้ว คาดว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอู่ทอง นอกจากความเนิ่นนานนี้ ความเลื่อมใสของพระลอยคือมูลเหตุสำคัญที่ทำให้วัดแห่งนี้มีชื่อเสียง
บน – บรรยากาศโดยรวมของวัดพระลอย (จากภาพ ตรงอักษร www คือวิหารหลวงพ่อพระลอย ถ้าเลยขอบภาพไปทางซ้าย(ที่ไม่เห็นในภาพ)คือ อุโบสถเก่าที่มีอายุ 700 ปีเศษ ส่วนอาคารหลังคาสีอิฐตรงอักษร com คือ ศาลาการเปรียญ และหลังคาสีอิฐด้านหลังที่ติดกับขอบภาพทางขวาก็คือ โบสถ์)
- ทีมงานพาไปชมอุโบสถโบราณก่อน
ซ้ายบน – ปัจจุบันอุโบสถเก่ามีอาคารสร้างครอบไว้ ถ้าใครจะมาชมอุโบสถเก่า เราต้องเดินผ่านอาคารที่สร้างครอบนี้ก่อน เมื่อเข้าอาคารมาแล้ว ทุกคนจะพบทางเข้าที่มีกำแพงอิฐปรักหักพังทั้งซ้ายและขวา ซึ่งก็คือ ผนังดั้งเดิมของอุโบสถที่ยังหลงเหลืออยู่ ภายในอุโบสถเก่ามีพระพุทธรูปประดิษฐานให้ประชาชนได้กราบไหว้ นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่ทำพิธีสะเดาะเคราะห์และเสริมดวงชะตาด้วย
ขวาบน – พระประธานในอุโบสถเก่า
ซ้ายล่าง – อุโบสถเก่ามีอายุเกินกว่า 700 ปีแล้ว เป็นอาคารสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 9.80 เมตร ยาว 18 เมตร (จากภาพ มุมนี้คือผนังด้านนอกของอุโบสถเก่า หลังคาด้านบนเป็นของอาคารใหม่ที่สร้างครอบไว้ ส่วนหลังคาดั้งเดิมของอุโบสถเก่าพังทลายหมดแล้ว)
ขวากลาง – เจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม (จากภาพ หน้าอาคารที่สร้างครอบอุโบสถเก่ามีเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมตั้งอยู่ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนปลาย-รัตนโกสินทร์ตอนต้น)
- ไปชมหลวงพ่อพระลอยเลย
ขวาล่าง – ด้านหน้าวิหารหลวงพ่อพระลอยมีประชาชนจุดธูปเทียนกราบไหว้ตลอดวัน



 

ภายในวิหารหลวงพ่อพระลอยจะเป็นอย่างไรบ้าง
ซ้ายบน – วิหารดูโปร่งและโล่ง ส่วนบริเวณอักษร de เป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อพระลอย (จากภาพ ตามประวัติจากคำบอกเล่ากล่าวถึงวัดนี้ว่า ครั้งหนึ่งมีพระพุทธรูปลอยมาตามน้ำ ชาวบ้านจึงได้ช่วยกันอัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานไว้ในวิหารของวัด แล้วตั้งชื่อวัดว่า“วัดพระลอย”ตามเหตุการณ์ดังกล่าว)
ขวาบน – เรามาชมหลวงพ่อพระลอยใกล้ๆกัน (จากภาพ หลวงพ่อพระลอยเป็นพระพุทธรูปสลักหินทรายขาวปางนาคปรก พิจารณาจากรูปแบบทางศิลปะ คาดว่าเป็นพระพุทธรูปสมัยลพบุรี มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 18)
- จากวิหารหลวงพ่อพระลอย เราไปโบสถ์ของวัดพระลอยต่อ
ขวากลางบน – บรรยากาศภายในโบสถ์ (จากภาพ สถาปัตยกรรมในโบสถ์วัดพระลอยเลียนแบบสถาปัตยกรรมโบสถ์ของวัดเลียบ โดยมีพระสังฆราชรูปที่ 17 เป็นผู้นำพิมพ์เขียวมาเป็นแบบในการก่อสร้าง โบสถ์นี้สร้างเมื่อปี พ.ศ.2500)
ซ้ายล่าง – พระประธานในโบสถ์วัดพระลอยเป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตก
- เปลี่ยนจากเรื่องศาสนาไปชมเรื่องราวอื่นๆของวัดบ้าง
ขวากลางล่าง – บริเวณนี้เป็นอุทยานมัจฉา มีปลาเป็นจำนวนมาก นักท่องเที่ยวสามารถเดินไปด้านหลังวัดพระลอย ซึ่งติดกับแม่น้ำสุพรรณบุรี จากนั้นเดินลงแพไป ในแพมีแม่ค้าขายอาหารปลาอยู่ มีคนมาให้อาหารปลากันเยอะแยะเลย ปลาที่โดดเด่นตามธรรมเนียมคือ ปลาสวาย ที่เหลือยังมีปลาอีกหลายชนิด เช่น ปลาตะเพียนหางแดง ปลาเทโพ ปลาสังกะวาด ฯลฯ ทั้งนี้เรายังเห็นนกกระยางยืนอยู่บนขอนไม้ริมตลิ่งฝั่งตรงข้ามคอยจ้องหาปลาในน้ำด้วย
- เดินไปเดินมาหลายที่ หิวกันหรือยัง
ขวาล่าง – นอกจากตลาดร่มไม้ชายน้ำที่ทีมงานเคยสำรวจมาแล้ว พื้นที่ในวัดพระลอยเองก็มีจุดจำหน่ายสินค้าเช่นกัน โซนแรกเป็นอาคารแถวยาวหนึ่งแถวทางขวามือในลานจอดรถหน้าวัด(หรือตรงกันข้ามกับตลาดร่มไม้ชายน้ำ) อาคารแถวนี้แบ่งเป็นห้องๆ แต่ละห้องเปิดหน้าร้านจำหน่ายข้าวของต่างๆ แต่ร้านที่จำหน่ายอาหารจะมีโต๊ะเก้าอี้อยู่หน้าร้านด้วย ส่วนอีกโซนจะอยู่ตรงข้ามกับโบสถ์ โซนนี้เป็นอาคารแถวยาวหนึ่งแถวเช่นกัน อาคารนี้มีทั้งหมดสองชั้นและตั้งอยู่เลียบริมแม่น้ำสุพรรณบุรีตลอดแนว ชั้นล่างแบ่งเป็นห้องๆจำหน่ายสินค้า โต๊ะเก้าอี้จะอยู่ในร้าน นักท่องเที่ยวสามารถนั่งกินไปชมวิวแม่น้ำสุพรรณบุรีไปได้เลย ส่วนชั้นบนไม่ได้เปิดเป็นร้านค้าใดๆ นอกจากนี้ยังมีรถพ่วงข้างและแผงลอยเล็กๆอยู่ข้างวิหารหลวงพ่อพระลอยอีกจุด (จากภาพ จุดนี้คืออาคารร้านค้าตรงข้ามกับโบสถ์และอยู่ริมแม่น้ำสุพรรณบุรี)
รายการสินค้า - เริ่มจากอาหารมีข้าวผัดกะเพรา ผัดพริกแกง คะน้าหมูกรอบ ไก่ผัดขิง ก๋วยเตี๋ยว(หมู หมูตุ๋น น้ำตก และต้มยำ) ราดหน้า ผัดไทย ผัดซีอิ๊ว ข้าวต้มทรงเครื่อง ข้าวผัด(มีตัวเลือกคือ ไข่ หมู เนื้อ กุ้ง ไก่ และหมึก) ส้มตำ ยำมะม่วง และซุปหน่อไม้ เครื่องดื่มปรุงที่ร้านมีกาแฟร้อนเย็น ชาร้อน ชาเย็น นมเย็น โอวัลติน และเนสกาแฟ เครื่องดื่มในตู้เย็นมีเอ็มร้อยห้าสิบ(สูตรดั้งเดิมและสูตรกระชายดำผสมน้ำผึ้ง) สปอนเซอร์ โสมเกาหลีตังกุยจับ กระทิงแดงทีโอเปล็กซ์แอล คาราบาว เนสกาแฟ(รสต่างๆคือ เอสเพรสโซโรสต์ ลาเต้ และแบล็กไอซ์) เบอร์ดี้โรบัสตา เรดดี้บูต(รสโกจิเบอร์รีและรสองุ่นและทับทิม) ไวตามิลค์สูตรออริจินอล นมตราหมีรสจืดกล่อง โอวัลตินสูตรแคลเซียมสูง แลคตาซอยสูตรออริจินอลรสหวาน ไมโลสูตรโปรโตมอลต์ ดัชมิลล์โฟร์อินวัน(รสต่างๆคือ บลูเบอร์รี ส้ม และสตรอว์เบอร์รี) C-Vitt(รสเลมอนและรสออเรนจ์) แบรนด์ เย็นเย็นสูตรจับเลี้ยง โออิชิ(รสต่างๆคือ องุ่นเคียวโฮ น้ำผึ้งมะนาว ต้นตำรับ แตงโม ข้าวญี่ปุ่น และส้มยูซุ) แมนซั่ม(รสต่างๆคือ วิตามินบีรวม
แอล-กลูตาไธโอน คอลลาเจน และโมฮิโตะแอล-อาร์จินีน) แฟนต้า(น้ำแดง น้ำเขียว น้ำส้ม) สไปรท์ โค้ก(สูตรออริจินอลและสูตรไม่มีน้ำตาล) เป๊ปซี่ ไวตามิลค์ ชเวปส์ ซาคูลล์ซ่ารสฮันนีเลมอน ยันฮีวิตามินวอเตอร์ และน้ำดื่มวีด้า สำหรับน้ำอัดลมใส่แก้วก็มีเช่นกัน ของกินอื่นๆมีข้าวเกรียบว่าว ข้าวเกรียบงา และไอศกรีมกะทิ(พร้อมเครื่องให้เลือกดังนี้ ฟักทอง ข้าวเหนียวขาว ลูกชิด ฟรุตสลัดสามสี และลอดช่อง) รวมทั้งสลากกินแบ่งและมุมเช่าพระเครื่อง


TODAY THIS MONTH TOTAL
170 3015 252233
Copyright : 2018 KarnDernTang.com ขอสงวนลิขสิทธิ์เนื้อหาในเว็บไซต์ตามกฎหมาย ห้ามทำซ้ำหรือคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต

บริษัทรับทำเว็บไซต์ Design By cw.in.th

Scroll To Top