วัดเชตวันกาเผือก

คำอธิบาย


วัดเชตวันกาเผือก(หรือวัดนางกาเผือก)ประกอบด้วยวิหารและเจดีย์ ตามหลักฐานและเอกสารทางประวัติศาสตร์ (พงศาวดารโยนก) กล่าว่า“ศักราช 998 (หรือปี พ.ศ.2179) ปีชวด อัฐศกเจ้าฟ้าสุทโธธรรมราชา ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลบวชกุลบุตรพันหนึ่ง แล้วมีพระราชโองการให้สถาปนาที่วังนางกาเผือกเมืองเชียงแสนเป็นพระอาราม ขนานนามว่า วัดเชตวัน จากนั้นอาราธนาพระมหาเถรวัดป่าไผ่ดอนแท่นมาเป็นเจ้าอาวาส” (เจ้าฟ้าสุทโธธรรมราชาเป็นกษัตริย์เมืองอังวะ ในช่วงเวลาที่กล่าวถึงนี้เป็นช่วงเวลาที่ล้านนาทั้งปวงอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์ตองอูในราวพุทธศตวรรษที่ 22 ซึ่งตรงกับช่วงเวลาที่เอกสารระบุไว้)


ใครที่มาเที่ยวชมวัดเชตวันกาเผือก(หรือวัดนางกาเผือก) บอกเลยว่าไม่ใช่เรื่องยากอะไร วัดนี้อยู่ตรงสี่แยกชุมชนผ้าขาวป่านบนถนนพหลโยธิน(หรือสาย 1016)พอดี แม้พื้นที่วัดมีต้นไม้บดบัง แต่ยังสามารถรู้ตำแหน่งได้เพราะเป็นลานหญ้ากว้าง แถมวัดนี้ยังอยู่ติดกับโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15 อีกด้วย
บน – สนามหญ้าของวัดเชตวันกาเผือก(หรือวัดนางกาเผือก)ร่มรื่นอย่างที่คำโปรยบอกไว้ ต้นไม้ใหญ่ขึ้นครอบคลุมพื้นที่วัดจนครบทุกมุม (จากภาพ บริเวณเหนืออักษร www คือ เจดีย์ ส่วน rnderntang.com คือ วิหาร)



 

ภายในวัดเชตวันกาเผือกมีถาวรวัตถุสองอย่างที่นักท่องเที่ยวต้องเห็นนั่นคือ เจดีย์และวิหาร
ซ้ายบน – เจดีย์ (จากภาพ ลักษณะเจดีย์เป็นแบบล้านนา ประกอบด้วยส่วนฐานบัวทรงสี่เหลี่ยมรองรับองค์ระฆังกลม ส่วนยอดพังทลายไปแล้ว เจดีย์ด้านที่เห็นอยู่นี้อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ สำหรับอาคารสีฟ้าหลังต้นไม้คือ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 15)
ขวาบน – เจดีย์ด้านนี้อยู่ทางทิศเหนือ
ซ้ายกลาง – วิหาร (จากภาพ วิหารเป็นอาคารก่ออิฐถือปูนในแผนผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก สร้างเป็นอาคารแบบโถง)
ขวากลาง – ด้านข้างวิหารทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ซ้ายล่าง – โถงของวิหารมีผนังเฉพาะส่วนท้ายวิหาร ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระประธาน
ขวาล่าง – ลานบนวิหาร

TODAY THIS MONTH TOTAL
199 5347 248712
Copyright : 2018 KarnDernTang.com ขอสงวนลิขสิทธิ์เนื้อหาในเว็บไซต์ตามกฎหมาย ห้ามทำซ้ำหรือคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต

บริษัทรับทำเว็บไซต์ Design By cw.in.th

Scroll To Top