เมืองโบราณยะรัง

คำอธิบาย


ประวัติความเป็นมาของเมืองโบราณยะรัง จากหลักฐานที่ปรากฏในเอกสารจีน ชวา มลายู และอาหรับ เชื่อว่าเมืองโบราณยะรังเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนามหายานแห่งอาณาจักรลังกาสุกะและเป็นเมืองท่าที่สำคัญเพราะอยู่ใกล้ทะเล จึงมีบทบาทด้านการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12

มีการตั้งข้อสังเกตว่าเมืองโบราณยะรังน่าจะมีผังเมืองเป็นทรงสี่เหลี่ยมคางหมูและมีพื้นที่ประมาณ 9 ตารางกิโลเมตร ซึ่งสร้างทับซ้อนและขยายเชื่อมต่อกันถึง 3 เมือง ถือว่าเป็นชุมชนแรกเริ่มประวัติศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้ ประกอบด้วยเมืองโบราณบ้านวัดซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุด เมืองโบราณบ้านจาเละที่ค้นพบสถูปในพุทธศาสนาฝ่ายมหายานที่เก่าแก่ที่สุดในไทย และเมืองโบราณบ้านปราแว สันนิษฐานว่าสร้างในช่วงอาณาจักรลังกาสุกะตอนปลายก่อนจะย้ายไปสร้างเมืองปัตตานีที่กรือเซะ



ของโบราณทุกอย่างควรได้รับการอนุรักษ์ไว้ และยิ่งเป็นสิ่งเก่าแก่มากที่สุดในประเทศไทย คุณค่าทางจิตใจย่อมประเมินค่าไม่ได้ สถูปในพุทธศาสนาฝ่ายมหายานที่โบราณสถานบ้านจาเละเลยกลายเป็นเป้าหมายในการมาครั้งนี้ และตอนที่ทีมงานมาถึง แพะน่ารักสามสี่ตัวเดินป้วนเปี้ยนส่งเสียงทักทายอยู่บริเวณทางเข้าด้วย
ซ้ายบน – อาคารจัดแสดงโบราณสถานบ้านจาเละหมายเลข 3 เป็นอาคารคลุมโบราณสถานที่ใหญ่ที่สุดของเมืองโบราณยะรัง
- เดี๋ยวเราเดินชมรอบสถูปของเมืองโบราณยะรังทั้งสี่มุมให้ครบกัน
ขวาบน – เมื่อเดินเข้ามา เราจะพบมุมแรกตามนี้ (จากภาพ การขุดแต่งโบราณสถานบ้านจาเละเป็นการขุดค้นทางโบราณคดีบนแหล่งโบราณสถานซึ่งมีร่องรอยหลักฐานเป็นแนวให้เห็นสภาพของแหล่งโบราณคดีเดิมอยู่ นักโบราณคดีจึงขุดลอกเอาชั้นดินหรือเศษชิ้นส่วนของโบราณสถานที่พังทลายทับถมซากฐานอาคารโบราณสถานออกเพื่อศึกษารูปทรงและเทคนิคการก่อสร้าง)
ซ้ายกลางบน – มุมที่สอง
ซ้ายกลางล่าง – มุมถัดมา
ขวากลาง – และมุมที่สี่
ซ้ายล่าง – เรามาชมด้านตรงเพื่อให้เห็นก้อนอิฐชัดขึ้นบ้าง (จากภาพ โบราณสถานบ้านจาเละเป็นซากอาคารก่ออิฐเผาไฟขนาดต่างๆ มีทั้งแบบรอยขัดผิวและไม่มีรอยขัดผิว ระบบการเรียงอิฐเป็นแบบด้านยาว 1 ก้อนสลับด้านกว้าง 2 ก้อนในแต่ละชั้น)
ขวาล่าง – รูปแบบสันนิษฐานของโบราณสถานบ้านจาเละหมายเลข 3 มีการวางผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมขนาดกว้างด้านละประมาณ 13.05 เมตร และหันหน้าไปทางทิศตะวันออกบริเวณคูเมืองเก่า องค์ประกอบของอาคารมี 2 ส่วนคือ 1. ฐานอาคารรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เพิ่มมุมเป็นมุขที่กึ่งกลางฐานและมุมฐานทั้งสี่ด้าน มุมทางทิศตะวันออกมีขนาดใหญ่ ก่อเป็นลานคล้ายแท่น ใช้เป็นที่วางสถูปขนาดต่างๆ ฐานอาคารก่อเป็นฐานเขียง 2 ชั้น รับด้วยมาลัยลูกแก้วและแถวเม็ดประคำเหลี่ยม ส่วนบนสร้างเป็นอาคารผนังเลียนแบบอาคารไม้ ประกอบด้วยชั้นบัวหงายเป็นเอ็นรัดผนัง รองรับด้วยเสาหลอกรูปกลมขนาดเล็กและเสาหน้าต่างหลอกรูปสี่เหลี่ยม ด้านบนของหน้าต่างหลอกมีรางน้ำมนต์(โสมสูตร)หินทราย และที่มุขทั้งสี่ด้านยังมีเสาหลอกรูปสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ ทั้งบริเวณมุมเสากลมและมุมเสาสี่เหลี่ยม บนมุขของมุมฐานทั้งสี่ด้านประดับด้วยสถูปจำลองอาคารทรงกลม 2. อาคาร มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละ 8.25 เมตร ต่อมุขยื่นออกไปทั้งสี่ด้านในลักษณะรูปกากบาท ฐานอาคารก่อเป็นฐานเพียงสองชั้น ต่อด้วยมาลัยลูกแก้ว แถวเม็ดประคำเหลี่ยม และชั้นเอ็นรัดผนังรูปบัวคว่ำบัวหงาย ส่วนบนพังทลายทั้งหมด พื้นที่ระหว่างฐานอาคารและตัวอาคารเป็นลานประทักษิณ น่าจะใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมและวางสถูปจำลองดินเผา ส่วนกลางของอาคารเป็นห้องสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดกว้างด้านละ 5.1 เมตร มีช่องเข้าทางทิศตะวันออกสัมพันธ์กับมุขกลางของฐานอาคาร ภายในห้องด้านทิศตะวันตกมีแท่นยาวขนาด 1.35 เมตร ใช้เป็นที่วางสถูปจำลองดินดิบ สถูปจำลองดินเผา พระพิมพ์ดินดิบ พระพิมพ์ดินเผาทั่วทั้งห้อง (จากภาพ จากการศึกษาเปรียบเทียบ พบว่าโบราณสถานแห่งนี้มีลักษณะผังคล้ายคลึงกับเจดีย์หมายเลข 2 ทางทิศเหนือของเมืองโบราณสมัยทวารวดีที่อำเภออู่ทอง สุพรรณบุรี ประกอบกับหลักฐานโบราณวัตถุต่างๆที่พบ จึงสันนิษฐานว่าโบราณสถานแห่งนี้เป็นศาสนสถานในศาสนาพุทธ ลัทธิมหายาน อยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 12 จนถึงพุทธศตวรรษที่ 15-16)



เดินชมกันต่อ
ซ้ายบน - และการขุดแต่งเมืองโบราณยะรังทำให้พบวัตถุโบราณที่สำคัญหลายอย่าง เช่น พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรสำริด (กำหนดอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 12) จำนวน 1 องค์ แผ่นทองคำจำนวน 1 ชิ้น พระพิมพ์ดินดิบจำนวน 5,816 ชิ้น พระพิมพ์ดินเผาจำนวน 2 ชิ้น สถูปจำลองดินดิบจำนวน 250 ชิ้น สถูปจำลองดินเผาจำนวน 482,157 ชิ้น เป็นต้น โบราณวัตถุเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ชุมชนโบราณยะรังมีศิลปะและวัฒนธรรมที่ได้รับอิทธิพลโดยตรงจากอินเดียสมัยคุปตะและศิลปะอินเดียตอนใต้ โดยเฉพาะการยอมรับศาสนาพุทธลัทธิมหายาน และการติดต่อกับดินแดนใกล้เคียง เช่น คาบสมุทรอินโดจีนและโดยรอบอ่าวไทย ฯลฯ ทำให้เมืองโบราณยะรังมีรูปแบบศิลปะใกล้เคียงกับศิลปะทวารวดี(ภาคกลางของไทยในปัจจุบัน)ซึ่งมีรูปแบบเฉพาะตัวและเจริญรุ่งเรืองอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 11-12 (จากภาพ พระพิมพ์ดินดิบรูปโค้งวงรี ยอดโค้งค่อนข้างแหลม ขนาดกว้าง 2.6 เซนติเมตร สูง 3.8 เซนติเมตร หนา 0.9 เซนติเมตร มีลักษณะเป็นรูปสถูปเดี่ยวฐานสูงองค์ระฆังทรงหม้อน้ำ มีฉัตรวลีชั้นเดี่ยว แก่นฉัตรยาว ใต้ฐานสถูปมีจารึกอักษรปลลวะ (ภาษาสันสกฤต) เป็นคาถาจำนวน 6 บรรทัด พบจำนวน 1 ชิ้น กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 12)
ขวาบน – ทางเดินในโบราณสถานหมายเลข 3 มีภาพและคำอธิบายสำหรับนักท่องเที่ยวที่สนใจอยู่หลายจุด ส่วนทางเดินรอบโบราณสถานมีราวเหล็กกั้นระหว่างผู้ชมและโบราณสถานเอาไว้
- ตอนนี้ก็ได้ฤกษ์ออกจากอาคารจัดแสดงหมายเลข 3 แล้วไปอาคารจัดแสดงโบราณสถานหมายเลข 2 ต่อ
ซ้ายกลางบน – อาคารจัดแสดงโบราณสถานหมายเลข 2 เป็นอาคารโปร่งรอบด้าน
- ทีมงานขอเดินชมรอบทิศของโบราณสถานทั้งสี่ด้านเหมือนเดิม
ขวากลางบน – มุมที่หนึ่ง (จากภาพ โบราณสถานแห่งนี้มีขนาดเล็ก เมื่อเทียบกับโบราณสถานหมายเลข 3)
ซ้ายกลางล่าง – มุมที่สอง
ขวากลางล่าง – มุมที่สาม
ซ้ายล่าง – และมุมที่สี่
ขวาล่าง – เส้นทางรอบนอกมีซากโบราณสถานที่ค้นพบบริเวณอักษร w.karndern ด้วย


TODAY THIS MONTH TOTAL
139 3588 252806
Copyright : 2018 KarnDernTang.com ขอสงวนลิขสิทธิ์เนื้อหาในเว็บไซต์ตามกฎหมาย ห้ามทำซ้ำหรือคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต

บริษัทรับทำเว็บไซต์ Design By cw.in.th

Scroll To Top