มัสยิดกรือเซะ

คำอธิบาย


มัสยิดกรือเซะ (หรือมัสยิดปินตูกรือบัน) คำว่า“กรือเซะ”มีความหมายว่า“ทรายสีขาวใสดั่งไข่มุก”เนื่องมาจากหาดทรายที่นี่ขาวสะอาด ในสมัยก่อนชาวอาหรับแล่นเรือมาที่ชายหาดแห่งนี้ จึงเรียกชายหาดบริเวณนี้ว่า“ลุ ลุ”ซึ่งแปลว่า“ไข่มุก”ในภาษามลายูนั่นเอง

ปัจจุบันพื้นที่แห่งนี้ถูกเรียกว่า“ตันหยงลูโละ” ส่วนชื่ออย่างเป็นทางการของมัสยิดกรือเซะก็คือ“มัสยิดสุลต่านมูชัฟฟาร์ ซาห์” โดยเป็นมัสยิดแห่งแรกในอาเซียนซึ่งสร้างด้วยอิฐแดงที่ผลิตจาก Tarab Bata (หรือที่หมู่บ้านกะมิยอในอำเภอเมืองปัตตานี) และเป็นมัสยิดโบราณที่สร้างมา 300 กว่าปีแล้ว ด้วยลักษณะโดดเด่นของสถาปัตยกรรมเชิงช่างผสมผสานศิลปะอาหรับ เช่น รูปทรงประตูซุ้มโค้งแหลมแบบเสาทรงกลม

มัสยิดแห่งนี้สร้างในสมัยสุลต่านมูซัฟฟาร์ ซาห์ เป็นเจ้าเมืองปัตตานี(ช่วงปีพ.ศ 2073 – พ.ศ. 2107)ตามคำแนะนำของท่านเชค ซาฟียุดดีน อัลอับบาส (อุลามาฟิกฮ หรือที่เรียกกันว่า"ดาโต๊ะฟิกฮ ดีรายา") หลังจากสร้างเสร็จ ก็มีสถานะเป็นมัสยิดแห่งอาณาจักรปัตตานีดารุสสลาม

นอกจากเป็นสถานที่สักการะแล้ว ยังเป็นศูนย์รวมเรื่องศาสนา อีกทั้งเป็นแหล่งศึกษาศาสตร์ที่เกี่ยวกับศาสนาอิสลามด้วย จนกระทั่งปี พ.ศ.2478 กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนให้เป็นโบราณสถาน ทั้งยังมีการบูรณะในปี พ.ศ.2500 และในปี พ.ศ.2525 อีกครั้งเพื่อให้มัสยิดกรือเซะเป็นโบราณสถานทางประวัติศาสตร์ของเมืองปัตตานีสืบต่อไป



แม้มัสยิดแห่งนี้จะไม่ใช่มัสยิดกลางประจำจังหวัด แต่กลับมีชื่อเสียงอย่างมากเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และความเป็นมา ซึ่งถ้าใครขับรถผ่านถนนสาย 42 ในอำเภอเมืองปัตตานี ย่อมเห็นมัสยิดกรือเซะแน่นอน การมาชมสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้จึงไม่ใช่เรื่องยากอะไร
บน – ภาพมุมกว้างด้านหน้าของมัสยิดกรือเซะ เราสามารถเห็นลานด้านหน้า รวมทั้งด้านข้างมัสยิดจากมุมนี้ (จากภาพ
ซุ้มประตูหน้ามัสยิดมีสามซุ้มก่อนเข้าประตูสู่โถงละหมาดด้านใน ขณะเดียวกัน บริเวณทางเดินหลังซุ้มประตูสามารถเดินไปทางเดินข้างมัสยิดได้ แต่ไม่สามารถอ้อมไปด้านหลัง)

 


เริ่มสำรวจแล้ว

ซ้ายบน –
ถ้าเราอยากขึ้นลานอิฐแดงด้านหน้ามัสยิด ต้องถอดรองเท้าบริเวณบันไดด้วย
ขวาบน –
เมื่อเข้ามาบริเวณทางเดินรอบโถงละหมาดหน้ามัสยิด แล้วหันไปทางซ้าย จะเห็นซุ้มประตูโค้งสวยงามเหนือทางเดิน ซึ่งเราสามารถเดินเลี้ยวขวาไปทางเดินข้างโถงละหมาดต่อได้
ซ้ายกลางบน – จากตำแหน่งเดิม แต่หันหน้าไปทางขวาบ้าง เราสามารถเดินเลี้ยวซ้ายไปทางเดินด้านข้างได้เช่นกัน
ซ้ายกลางล่าง -
ตัวอย่างทางเดินด้านข้าง บริเวณนี้เป็นฝั่งซ้าย ซึ่งมีประตูเข้าออกโถงละหมาดอยู่
ขวากลาง – ที่อาบน้ำก่อนทำการละหมาด เราต้องชำระล้างส่วนต่างๆของร่างกายให้สะอาด เช่น มือ เท้า ใบหน้า ฯลฯ ก่อนเข้าละหมาดในโถงด้านใน
ซ้ายล่าง – ด้านหลังมัสยิด (จากภาพ ส่วนที่นูนจากผนังออกมา เป็นมิห์รอบจากโถงละหมาดด้านใน)
ขวาล่าง – ปิดท้ายด้วยบรรยากาศภายในโถงละหมาด ทางซ้ายเป็นฉากกั้นทำละหมาดของผู้หญิง ส่วนพรมสีเขียวคาดแดงตรงกลางและทางขวาเป็นตำแหน่งทำละหมาดของผู้ชาย ทุกคนหันหน้าไปทางมิห์รอบ(ซึ่งเป็นทิศกิบละห์) โดยเป็นซุ้มโค้งเว้าเข้าไปในผนังกำแพง (ทิศกิบละห์เป็นทิศที่ชาวมุสลิมทั่วโลกหันไป เวลาทำละหมาด) นอกจากนี้ โรงเรียนต่างๆยังจัดกิจกรรมให้นักเรียนมาอบรมศาสนาและศึกษาประวัติความเป็นมาที่มัสยิดแห่งนี้ด้วย

TODAY THIS MONTH TOTAL
165 3788 253006
Copyright : 2018 KarnDernTang.com ขอสงวนลิขสิทธิ์เนื้อหาในเว็บไซต์ตามกฎหมาย ห้ามทำซ้ำหรือคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต

บริษัทรับทำเว็บไซต์ Design By cw.in.th

Scroll To Top