เกริ่นนำ
ในที่นี้ทีมงานจะพูดถึงของกินและของใช้เท่านั้น เนื่องจากในหลายสถานที่ไม่ว่าจะเป็นตลาด ถนนคนเดิน แหล่งท่องเที่ยว วัดวาอาราม หรือสถานที่ใดๆก็ตาม มักมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับของกินของใช้เข้ามาร่วมด้วย โดยเราจะขอเริ่มด้วยแผงลอยก่อน จากนั้นจึงเป็นหมวดของกินของใช้ และตามด้วยคำอธิบายเพิ่มเติม
ลักษณะแผงลอยและแผนที่การเดินทาง
การเล่าเรื่องของเว็บไซต์เรามีการพูดถึงลักษณะแผงลอย รวมทั้งช่องทางเดินด้วย ที่ทีมงานเลือกสื่อสารวิธีนี้ก็เพราะต้องการบรรยายบรรยากาศของสถานที่ ถึงแม้ผู้อ่านไม่เห็นภาพ ก็ยังนึกเรื่องราวออกตามได้ นอกเหนือจากของกินหรือของใช้ในสถานที่เหล่านั้น และเมื่อเข้าสู่เนื้อหาภาพพร้อมคำอธิบายประกอบตามมา ผู้อ่านก็จะเข้าใจสถานที่ได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเคยไปมาแล้วหรือไม่ก็ตาม
"ช่องทางเดินแนวลึกและแนวขวาง"เป็นการสมมติจากลักษณะของสถานที่เพื่อบอกเล่าเส้นทางเดินให้ชัดเจนขึ้น ส่วน"เส้นทางการเดิน ตรอกซอกซอย และทางเข้าทางออก"จะเล่าโดยอ้างอิงจากเส้นทางเดินของทีมงานเป็นหลัก
ในกรณีพูดถึงตลาด "พ่อค้า"และ"แม่ค้า"คือคนขายแผงประจำ(และ/หรือมีแผงขนาดใหญ่) ส่วน"ชาวบ้าน"หมายถึงคนขายที่มีแผงเล็ก หรือคนขายขาจร สามารถถือแผงกลับได้ (อนึ่ง แต่ถ้าไม่ได้พูดถึงตลาด คำว่า"ชาวบ้าน"ให้หมายถึงบุคคลทั่วไป)
เส้นทางในสถานที่ ถ้าเส้นทางไหนได้มีการอธิบายเรื่องราวระหว่างทางมาแล้ว เมื่อไปเส้นทางอื่น แล้วกลับมาพูดถึงเส้นทางก่อนหน้าที่เคยพูดไปแล้วอีกครั้ง ไม่ว่าจะมาจากทางไหนก็ตาม เราจะพูดทิศทางของเส้นทางเดิมนั้นโดยอ้างอิงเส้นทางครั้งแรกที่พูดไว้แล้วเสมอ (จะไม่ได้พูดถึงทิศทางจากเส้นทางที่เพิ่งเดินเข้ามาบรรจบ) แต่ถ้าเส้นทางก่อนหน้านี้มีการกล่าวเฉยๆ แต่ยังไม่ได้อธิบายเส้นทางว่ามีอะไรในเส้นทางนั้นบ้าง เมื่อเดินวนกลับมาถึงเส้นทางนั้นใหม่ ทีมงานขออ้างอิงเส้นทางและทิศทางจากเส้นทางล่าสุดที่เพิ่งเดินเข้ามาเลย
ตัวอย่างของแผงลอย เช่น
แบกะดิน คือการวางสินค้าบนพื้น
ขาโต๊ะแผงลอย คือลักษณะท่อนเหล็กที่นำมาประกอบกันจนเป็นโครงวางสินค้า
โต๊ะพับ คือโต๊ะที่พับเก็บได้
ผ้าฟาง คือผ้าฟางสีต่างๆที่ใช้ปูพื้น เป็นทั้งที่นั่งและวางสินค้า (ผ้าบลูชีทก็คือผ้าฟางชนิดหนึ่ง แต่มีลวดลายเป็นสีฟ้า)
เต็นท์พับ คือเต็นท์สำเร็จรูป พับเก็บได้
เต็นท์กาง คือเต็นท์ขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ มีผ้าเต็นท์กางคลุมด้านบน โดยมีขาทั้งสี่ด้านเป็นไม้หรือเหล็กเพื่อนำมาประกอบยึดกับผ้าเต็นท์ไว้
แผงหรือร้านใดจะอยู่ในช่องทางเดินไหนนั้น ทีมงานดูจากหน้าแผงที่หันออกไปทางเดินช่องนั้นๆเป็นหลัก (แต่ถ้าแผงใดที่มีขนาดกว้างและเปิดหน้าร้านออกมากกว่าหนึ่งด้าน อาจพิจารณาตามความเหมาะสม)
หมวดของกิน
การแบ่งหมวดของกินของใช้ ทีมงานพยายามแบ่งประเภทให้ได้หลากหลาย แต่บางประเภทก็อาจดูแปลกตาไปบ้าง เช่น ขนมหวานและขนมไทย ซึ่งหลายคนมองว่าไม่ต่างกัน เพียงแต่ทีมงานต้องการแยกให้เห็นว่า เป็นของหวานประเภทแห้งและของหวานประเภทน้ำ เราจึงหาคำมาแบ่งตามเกณฑ์เท่านั้น
อาหารทั่วไป คืออาหารหลายๆประเภทที่เห็นได้ทุกภาค เช่น ข้าวมันไก่ หลน ข้าวหน้าเป็ด ห่อหมก ข้าวขาหมู กั้งดองน้ำปลา หอยทอด กระเพาะปลา น้ำพริกปลาทู ก๋วยจั๊บ ข้าวผัดอเมริกัน ต้มเลือดหมู ข้าวคลุกกะปิ น้ำพริกปลาทู ยกเว้นบางประเภทที่ขอเขียนแยกคือ
1.อาหารตามสั่ง
2.ขนมจีนน้ำยา
3.ก๋วยเตี๋ยว
4.ของยำ
ในบางครั้ง บางรายการของอาหารทั่วไปอาจมีการเขียนแยกเพิ่มเติมได้ ถ้ามีความโดดเด่นในสถานที่นั้นๆ
หมวดอาหารในแต่ละภาค
1.อาหารเหนือ เช่น ข้าวกั๋นจิ้น แกงฮังเล
2.อาหารปักษ์ใต้ เช่น หนางหมู ข้าวยำ
3.อาหารอีสาน เช่น ข้าวเปียก ส้มตำ
กับข้าว คือแกงหรือผัดต่างๆในหม้อหรือถาดที่เป็นทั้งข้าวราดหรือตักใส่ถุงกลับบ้าน (รวมทั้งข้าวต้มกุ๊ยด้วย)
ของปิ้งย่าง (เน้นของกินชิ้นไม่ใหญ่ที่ปิ้งย่างในขณะนั้น) เช่น หมูปิ้ง ลูกชิ้นปิ้ง ไก่ย่าง บาร์บีคิว
ของทอด (เน้นของกินชิ้นไม่ใหญ่ที่ทอดในขณะนั้น) เช่น ไก่ทอด กล้วยทอด หมูทอด ทอดมัน แหนมทอด
(สำหรับแมลงทอด ถ้าโดดเด่น ก็ขอแยกเขียนออกมา)
ของกินเล่น คือของกินเล่นและขนมทั่วไป (แต่บางครั้งของกินบางอย่างก็เข้าข่ายในหมวดอื่นด้วย) เช่น ขนมปังกรอบ มะม่วงน้ำปลาหวาน ข้าวเกรียบปากหม้อ แครกเกอร์ มันฝรั่งทอด เมี่ยงคำ กะหรี่ปั๊บ โรตี มะม่วงกวน ลูกอม ถั่วต้ม สายไหม สาคูไส้หมู ขนมปังปี๊บ สายไหม ขนมจีบ หมูสะเต๊ะ ซาลาเปา ข้าวเกรียบ ของขบเคี้ยวในห่อ
หมวดขนมภาคต่างๆ คือขนมที่เป็นต้นตำรับของผู้คนในท้องถิ่นนั้นๆ ไม่สามารถหากินได้ตามปกติจากภาคอื่น
1.ขนมภาคเหนือ เช่น ขนมแตงไทย
2.ขนมอีสาน เช่น วุ้นตาล
3.ขนมปักษ์ใต้ เช่น ขนมลูกโดน ขนมลา
4.ขนมภาคกลาง เช่น ขนมดอกดิน
เนื้อสัตว์ต่างๆ (เป็นของสดเท่านั้น) ขอเขียนแยกเป็นชนิด
1.เนื้อไก่
2.เนื้อเป็ด
3.เนื้อวัว
4.เนื้อควาย
5.เนื้อนก เช่น นกกระทา นกกระยาง
ซึ่งเนื้อด้านบนนี้จะรวมถึงเครื่องในสัตว์ด้วย (แต่ถ้าไม่มีเนื้อสัตว์ ขายแต่เครื่องใน ก็ขอเขียน“เครื่องในสัตว์”แทน)
หมากพลู เช่น ใบพลู หมากสดและแห้ง แก่นคูน สีเสียด เมือก ปูนขาวและปูนแดง
ไอศกรีม เช่น ไอศกรีมหลอด ไอศกรีมตัก ไอศกรีมแท่ง ไอศกรีมตัด ไอศกรีมผัด
อาหารเพื่อสุขภาพ เช่น เครื่องดื่มผงจากเห็ด วิตามินจากธรรมชาติ สารสกัดจากพืช
สัตว์น้ำจืด (ส่วนใหญ่เป็นสัตว์ที่เพาะเลี้ยงได้) เช่น ปลาไหล กบ กุ้งฝอย เต่า ปลาช่อน ปลาดุก ปูนา กุ้งแม่น้ำ ปลาหมอ ปลาสวาย หอย
สัตว์ตามธรรมชาติ (ส่วนใหญ่มาจากท้องไร่ท้องนาและป่า) เช่น เขียด อึ่งอ่าง หนูนา แมลงต่างๆ เบ้า กะปอม ไข่มดแดง
ผักพื้นบ้าน คือของที่มาจากป่าหรือจากธรรมชาติหรือเป็นผลไม้ท้องถิ่นของคนในภาคนั้น เช่น ผักลืมชู้ บอน กะเพราควาย งวม กลอย เห็ดตามป่า ฝักลิ้นฟ้า สาหร่ายน้ำจืด ผำ เครือหมาน้อย สะตอ ลูกเนียง
ผลไม้ เช่น แตงโม สับปะรด ลิ้นจี่ ส้ม ทุเรียน ลำไย ขนุน มะขาม มะม่วง ส้มโอ ละมุด ชมพู่ (ส่วนผลไม้หั่นชิ้นใส่ถุง บางครั้งอาจแยกก็ได้ ถ้ามีความโดดเด่น)
ผลไม้พื้นบ้าน คือของที่มาจากป่าหรือจากธรรมชาติหรือเป็นผลไม้ท้องถิ่นของคนในภาคนั้น เช่น หลุมพี ลูกปุย บักเล็บแมว จำปาดะ แตงสา ส้มมุด มะปริง มะม่วงเบา บักหวดข่า น้อยโหน่ง ผลมะม่วงหิมพานต์ ลูกกำยาน มะเดื่อ ขนุนสำปะลอ บัวแงว
น้ำผึ้ง รวมถึงรังผึ้งและรังมิ่มด้วย
รังแมลง เช่น รังต่อ รังแตน
ของแห้ง (ของกินที่ไม่ปนน้ำ) เช่น หัวหอม กระเทียม กะปิ พริกแห้ง พริกไทย น้ำตาลปึก เกลือ กุนเชียง กระเพาะปลาแห้ง มะขามเปียก เนย น้ำตาลทราย เกลือ ปลาน้ำจืดแห้ง น้ำตาลแว่น พริกป่น ผงชูรส ยกเว้น
1.อาหารทะเลแห้ง (แต่ถ้ามีไม่เยอะ จะรวมอยู่ในหมวดของแห้งแทน)
2.ไข่ เช่น ไข่เป็ด ไข่ไก่ ไข่ข้าว ไข่เยี่ยวม้า ไข่เค็ม ไข่นกกระทา (แต่ถ้ามีไม่เยอะ จะรวมอยู่ในหมวดของแห้งแทน)
3.เครื่องเทศ (ถ้ามีไม่เยอะ จะรวมอยู่ในหมวดของแห้งแทน)
ของชำ (ของกินที่เป็นน้ำ) เช่น น้ำปลา ซอสมะเขือเทศ น้ำจิ้มปรุงรส ซีอิ๊ว น้ำมันหมู ปลากระป๋อง น้ำหวาน นมข้นหวาน น้ำผึ้ง น้ำมะนาวสดหรือขวด
อาหารทะเล (ในที่นี้คือของสดเท่านั้น) เช่น กุ้ง หอย ปู ปลา กั้ง ปลาหมึก ปลิงทะเล สาหร่ายทะเล
อาหารซีฟู้ด (ในที่นี้คือของสดที่นำมาปรุงบริเวณร้าน แล้วนั่งกินตรงนั้นเลย) เช่น กุ้งเผา ปลากะพงนึ่งมะนาว ปลาหมึกย่าง กรรเชียงปู ปลาเก๋าสามรส
ขนมแฟนซี คือขนมต่างๆที่ดัดแปลงให้มีสีสันต่างจากต้นฉบับ เช่น โรตีหน้าต่างๆ ขนมเบื้องหน้าต่างๆ
เครื่องดื่ม เช่น น้ำอัดลมโบราณ น้ำตาลสด ชานมไข่มุก น้ำผลไม้หัวเชื้อ น้ำเฉาก๊วย (ยกเว้นชากาแฟ เหล้าเบียร์ ยาดอง และน้ำสมุนไพรที่ขอแยกออกมา ในกรณีที่มีความโดดเด่น)
ชากาแฟ จะแยกออกมาในกรณีที่ทางร้านมีการปรุงใหม่ แต่ถ้าทำสำเร็จรูปล่วงหน้ารวมกับเครื่องดื่มอื่นๆ ขอรวมอยู่ในหมวดเครื่องดื่มแทน
ผลไม้สดปั่นและคั้น
เครื่องดื่มแช่เย็น คือเครื่องดื่มทั้งขวดและกระป๋องที่แช่อยู่ในถังน้ำแข็งหรือในตู้เย็น (ไม่ได้แพ็กแบบขายส่ง) เช่น น้ำดื่มขวด น้ำอัดลมกระป๋อง นม น้ำผลไม้ขวดหรือกล่อง เครื่องดื่มชูกำลัง นมเปรี้ยว (สำหรับโยเกิร์ต ขอเขียนรวมในหมวดนี้) หมายเหตุ “เครื่องดื่ม”ที่จำหน่ายแบบขายส่ง จะอยู่ในหมวด“สินค้าขายส่ง” ในกรณีที่มีขายปลีกแบบไม่แช่เย็นด้วย ก็อธิบายว่า"สินค้าขายปลีกส่ง”ซึ่งจะอยู่ในหมวดรวมที่เขียนอธิบายอยู่ด้านล่าง (แต่ไม่เรียก“เครื่องดื่ม”เฉยๆเนื่องจากจะซ้ำกับหมวด“เครื่องดื่ม”)
ขนมและอาหารที่มีแหล่งที่มาจากต่างประเทศ ขอแบ่งเป็นสองอย่างคือ ขนมและอาหาร เช่น
1.ขนมและอาหารญี่ปุ่น
2.ขนมและอาหารฝรั่งเศส
3.ขนมและอาหารอินเดีย
4.ขนมและอาหารอิตาเลียน
5.ขนมและอาหารเกาหลี
6.ขนมและอาหารตุรกี
7.ขนมและอาหารเวียดนาม เป็นต้น (ในกรณีที่มีแต่ขนมหรืออาหารอย่างเดียว ก็เขียนเฉพาะของกินประเภทนั้น) ยกเว้นของกินชาวจีนและของกินชาวมุสลิมที่ขอเขียนแยกออกมา ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ของกินชาวจีนคือ
1.อาหารจีน เช่น กะนาฉ่าย ใบปอ ซุปไก่ดำ ตือฮวน บ๊ะจ่าง
2.ของกินเล่น(ชาว)จีน เช่น บ๊ะโป่ว ไช้เปี้ย
3.ขนม(ชาว)จีน เช่น หมั่นโถว ขนมไหว้พระจันทร์
4.สมุนไพรจีน เช่น เก๋ากี้ แปะก้วย ลูกเหลาะฮั้งก้วย ห่วยซัว โสม ชิวคัก
5.เครื่องดื่มจีน เช่น น้ำเหลาะฮั้งก้วย น้ำจับเลี้ยง น้ำเหลี่ยงจุ้ย
หมายเหตุ ของกินจากประเทศจีน ในกรณีทราบแหล่งที่มาเพิ่มเติมจากผู้ขายหรือข้อมูลของคนในท้องถิ่น ก็ขอลงรายละเอียดลึกขึ้น เช่น อาหารฮกเกี้ยน อาหารกวางตุ้ง อาหารไหหลำ อาหารยูนนาน แต่ถ้าไม่ทราบแหล่งที่มาชัดเจน ขอลงข้อมูลเป็นกลางไว้ก่อนคือ“อาหารจีน”
ของกินชาวมุสลิมคือ
1.อาหารมุสลิม เช่น นาซิดาแฆ ข้าวหมกไก่และเนื้อ
2.ขนมมุสลิม เช่น นีบะ เวาะห์ฆอมอ ฆอเดาะห์
สำหรับกือโป๊ะ ซึ่งเป็นของกินเล่นชาวมุสลิม อาจเขียนแยกเดี่ยวได้ในกรณีมีความโดดเด่น
ผักสด เช่น คะน้า กะหล่ำปลี มะระ สายบัว ผักกาดขาว ขึ้นฉ่าย กระหล่ำดอก ถั่วฝักยาว บวบ มะเขือเทศ พริก ผักชีฝรั่ง ตะไคร้ มะนาว ผักบุ้ง กระเจี๊ยบ ถั่วพู แครอท บร็อกโคลลี เห็ดทั่วไป ขิง ใบมะขาม ยอดมะพร้าว ปลีกล้วย
พืชไร่ (แบบสด) เช่น ข้าวโพด มันเทศ ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง อ้อย ถั่วต่างๆ
ของหมักดอง เช่น ปลาร้า หน่อไม้ดอง น้ำบูดู เกี่ยมฉ่าย ขิงดอง เต้าเจี้ยว หอยดอง
ผลไม้แปรรูป เช่น ผลไม้ดอง ผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้อบแห้ง ผลไม้เชื่อม ฯลฯ (แต่บางครั้ง ถ้าแต่ละประเภทมีความโดดเด่น ก็อาจเขียนแยกออกมาแทน)
ของนึ่งต้ม (เป็น“อาหาร”ที่รวมทั้งอบและลวกด้วย) เช่น ไก่ต้ม เป็ดพะโล้ ไก่อบถัง หอยแครงลวก
อาหารแช่เย็น เช่น ลูกชิ้น ไส้กรอก หมูยอ แฮม ชีส เบคอน เต้าหู้ เนื้อปลาบด(ไว้ทำทอดมัน) รวมทั้งของแช่น้ำ เช่น ถั่วงอก
ของกินยามเช้า เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม น้ำเต้าหู้ ปาท่องโก๋ ติ่มซำ
เบเกอรี่ คือเค้กหน้าตาต่างๆ รวมทั้งเครปร้อนและเย็น ท็อฟฟี่เค้ก บราวนี่ เอแคร์ คัพเค้ก โดนัท ชิฟฟ่อน เค้กกล้วยหอม วาฟเฟิล บานอฟฟี
ขนมปัง คือขนมปังที่เห็นเนื้อแป้งขนมปังชัดเจน ประเภทโรยหน้าหรือใส่ไส้ต่างๆ เช่น ขนมปังหน้าเนยสด ขนมปังปิ้ง ไส้สังขยา ไส้หมูหยองพริกเผา ไส้ลูกเกด รวมทั้งขนมปังปอนด์
ขนมหวาน คือ“ของที่เปียก” เช่น กล้วยบวดชี แกงบวดฟักทอง สละลอยแก้ว เต้าทึงร้อนเย็น มันต้มขิง เต้าส่วน บัวลอย ครองแครง ปลากริมไข่เต่า ข้าวเหนียวเปียกลำไย
ขนมไทย คือ“ของที่แห้ง” เช่น ข้าวเหนียวแก้ว มันเชื่อม บ้าบิ่น บัวลอย หม้อแกง ข้าวเหนียวตัด ลูกชุบ ข้าวหลาม ทองหยอด ถั่วแปบ ข้าวเหนียวปิ้ง ขนมจาก ข้าวแต๋น ข้าวเหนียวมะม่วง ขนมเบื้อง ขนมถังแตก ขนมตาล ข้าวต้มมัด ข้าวเกรียบว่าว(หรือข้าวโป่ง)
น้ำแข็งไส เป็นร้านที่ปรุงให้นั่งกินหรือซื้อกลับ ซึ่งรวมถึงทับทิมกรอบและลอดช่องด้วย
เครื่องใส่น้ำแข็งไส คือร้านหรือแผงขายเครื่องต่างๆในการทำน้ำแข็งไส เช่น ซาหริ่ม บัวลอย ลูกชิด ข้าวเหนียวดำ เผือก แห้ว ข้าวโพด ลูกเดือย มัน ลอดช่อง
น้ำสมุนไพร คือน้ำสมุนไพรจากพืชต่างๆทั้งของไทยและจีน
เนื้อหมูปรุงสำเร็จต่างๆ เช่น หมูแผ่น หมูฝอย หมูหวาน หมูหยอง หมูแดง หมูกรอบ
สลัด ทั้งผักและผลไม้
หมวดของใช้
ของใช้ในบ้าน เช่น ไม้แขวนเสื้อ ทิชชู่ ไม้กวาด กะละมัง ยากันยุง ที่รดน้ำ กระดานจดบันทึก ไฟแช็ก เสื่อ ที่โกยขยะ กรงดักหนู ขันน้ำ เขียงไม้ ผ้าเช็ดพื้น ถังน้ำ ตะกร้า ไม้ขีดไฟ โต๊ะรีดผ้า แม่กุญแจ พวงกุญแจ
ผลิตภัณฑ์ซักล้าง (รวมถึงสุขภัณฑ์ อุปกรณ์ และการรีด) เช่น ผงซักฟอก น้ำยาอัดกลีบ น้ำยาซักผ้า น้ำยาล้างจาน สบู่ซักผ้า น้ำยาล้างห้องน้ำ แปรงขัด น้ำยาขจัดคราบ แผ่นใยขัด
เฟอร์นิเจอร์ เช่น ตู้ โต๊ะ เตียง ชั้นวาง เก้าอี้
ของใช้ส่วนตัว เช่น หวี ที่โกนหนวด ผ้าเช็ดหน้า ไหมขัดฟัน กรรไกรตัดเล็บ ผ้าเช็ดตัว ตะไบเล็บ ผ้าอนามัย ที่คาดผม
ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและดูแลผิว เช่น สบู่ ยาสีฟัน แป้งทาตัว ครีมนวดผม แชมพู แปรงสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก ไม้สำลีปั่นหู ครีมบำรุงผิว ครีมกันแดด
เครื่องครัวและอุปกรณ์ครัว (ถ้ามีอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ขอเขียนแยกเดี่ยว) เช่น หัวแก๊ส เตาอั้งโล่ หม้อ ทัพพี กระทะ ตะหลิว มีด เขียง จาน ชาม ช้อนส้อม ถ้วย แก้วน้ำ ตะเกียบ ครก สาก ไห ซึ้ง ปืนแก๊ส
สัตว์เลี้ยงและอุปกรณ์สัตว์ (ถ้ามีอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ขอเขียนอย่างเดียว) เช่น สุนัข นก ปลา ไก่ชน หนู กระรอก กุ้งเครย์ฟิช ปูเสฉวนบก ลูกเจี๊ยบ ลูกเป็ด รวมทั้งสัตว์นำเข้าต่างๆ ส่วนอุปกรณ์สัตว์เลี้ยงก็เช่น กรงนก ตู้ปลา เสื้อผ้าสุนัข อาหารสัตว์เลี้ยง
อุปกรณ์และเครื่องมือซ่อมบำรุง เช่น แป๊บน้ำ หัวก๊อก ท่อน้ำ กรรไกร ไฟฉาย ไขควง ประแจ คีม สว่าน สกรู เชือก ตะปู ค้อน
ผลิตภัณฑ์เด็กอ่อน เช่น ผ้าอ้อม นมผง เปล ขวดนม แพมเพิส เสื้อผ้าเด็กอ่อน จุก
เครื่องนอน เช่น หมอน มุ้ง ปลอกหมอน หมอนขิด ฟูก เปลญวน ผ้าห่ม ผ้าปูเตียง
ของชำร่วย คือสินค้ามีขนาดเล็กพกพาได้ เช่น กระเป๋าใบเล็ก พวงกุญแจ ตุ๊กตา ที่คั่นหนังสือ แม็กเน็ต
พันธุ์ไม้และพันธุ์พืช (ถ้ามีอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ขอเขียนอย่างเดียว) พันธุ์ไม้ เช่น ต้นไม้กระถาง กล้าต้นไม้ หน่อต้นไม้ ส่วนพันธุ์พืช ก็เช่น เมล็ดพืช เชื้อเห็ด
กีฬา เช่น ลูกบอล ลูกตะกร้อ ไม้แบดมินตัน ลูกแบท เชือกกระโดด นวม
พระเครื่อง รวมถึงเครื่องประดับ เช่น กรอบพระ
วัตถุมงคลและเครื่องราง คือสินค้าที่เกี่ยวข้องกับศาสนาและความเชื่อทั้งจากไทยและต่างชาติ
ของบวงสรวง(หรือของไหว้) เช่น หมากพลู ขนมราดู ข้าวตอก สายสิญจน์
ของเก่าหรือสินค้ามือสอง เช่น อะไหล่ หนังสือ เครื่องใช้ไฟฟ้า
เสื้อผ้ามือสอง
เชื้อฟืนและเชื้อเพลิง เช่น บ้อง ฟืนจากไม้สดหรือแห้ง ถ่าน น้ำมันดีเซล น้ำมันเบนซิน แก๊ส
งานฝีมือ คืองานที่ทำด้วยมือ แสดงถึงภูมิปัญญาของคนในท้องถิ่น เช่น ตะกร้า กระเป๋า
งานแฮนด์เมด คืองานที่ทำด้วยมือ แสดงถึงความสร้างสรรค์ในแบบร่วมสมัย เช่น สร้อย สายข้อมือ กระเป๋าหรือรองเท้าไหมพรม
ภาชนะข้าว เช่น หวด กระติบ กระด้ง กระจาด มวย
อุปกรณ์ร้านค้า เช่น ถุงพลาสติก ไม้ปิ้งไก่ หนังยางรัด ถุงร้อน ลังเก็บของ ไม้เสียบลูกชิ้น เชือกฟาง ถ้วยโฟม ใบตอง(ห่อขนม) ถุงสายรุ้ง
เสื้อผ้าชายหญิง เช่น เสื้อเชิ้ตแขนสั้นและยาว เสื้อยืด กางเกงขาสั้นและยาว กระโปรง ชุดแซ็ก กางเกงยีนส์ กางเกงสามส่วน เสื้อกล้าม
อุปกรณ์กันหนาว เช่น เสื้อกันหนาว เสื้อกันลม ถุงมือ ที่ครอบหู(หรือเอียร์มัฟ) ผ้าพันคอกันหนาว หมวกผ้าคลุมศีรษะ ลองจอห์น รองเท้าบูทกันหนาว
อุปกรณ์เดินป่า เช่น เสื้อผ้าเดินป่า รองเท้าปีนเขา เต็นท์ ถุงนอน เป้ ชุดภาคสนาม เก้าอี้พับ รองเท้าเดินป่า
เครื่องมือและอาหารปศุสัตว์ (ถ้ามีอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ขอเขียนอย่างเดียว) เช่น อุปกรณ์จับนก จับหนู จับแมลง จับปลา หรืออื่นๆ รวมทั้งอาหารปศุสัตว์เช่น ไก่ นก หมู (ยกเว้นอาหารปลาที่ให้ตามตลาดน้ำที่ขอเขียนแยกหมวดออกมา)
เครื่องมือและวัสดุงานเกษตร (ถ้ามีอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ขอเขียนอย่างเดียว) เช่น รถไถนา คราด เครื่องพ่นยาฆ่าแมลง เคียว เสียม คันไถ ปุ๋ย ดิน ยาบำรุง รองเท้าลุยโคลน งอบ จอบ ยาฆ่าแมลง อุปกรณ์แขวน
เครื่องสังฆภัณฑ์ไทย เช่น ถ้วยน้ำชา พระพุทธรูป เชิงเทียน โต๊ะหมู่บูชา ผ้าไตร ชุดสังฆทาน น้ำอบ (สำหรับชุดสังฆทาน ถ้าขายเป็นเดี่ยวๆ ก็ขอเขียนแยก)
เครื่องสังฆภัณฑ์จีน เช่น กระดาษไหว้เจ้า ถ้วยน้ำชา ตี่จู่เอี๊ย ถังเผา ขนมจันอับ เจ้าแม่กวนอิม ขนมมงคลต่างๆ
หมายเหตุ ถ้าภายในร้านหรือแผงเดียวกันมีทั้งไทยและจีน เราขอรวมเขียนเป็น“เครื่องสังฆภัณฑ์ไทยจีน”
ดอกไม้ พวงมาลัย และธูปเทียน (ถ้ามีอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เขียนอย่างเดียว)
เครื่องมือและวัสดุตัดเย็บ เช่น ด้าย เข็ม สายวัด ไหม ผ้ากาว ลูกไม้
เครื่องแต่งกาย เช่น เนคไท ถุงเท้า เข็มขัด วิกผม (สำหรับ“รองเท้า”และ“หมวก”ขอแยกออกมา กรณีที่ขายแบบโดดเด่น)
เครื่องประดับ เช่น ต่างหู แหวน กำไล สร้อย
อะไหล่และอุปกรณ์รถ เช่น พวงมาลัย หมวกกันน็อก ยางล้อรถ น้ำมันเครื่อง แฮนด์มอเตอร์ไซค์ มอเตอร์
รถยนต์และมอเตอร์ไซค์ (ถ้ามีอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ขอเขียนอย่างเดียว)
กล้องและอุปกรณ์ถ่ายภาพ เช่น กล้องถ่ายรูป กล้องติดหน้ารถ ขาตั้ง แผ่นเมมการ์ด แบตเตอรี่ เลนส์
เสื้อผ้าพื้นเมือง เช่น ผ้าขาวม้า ผ้าเตี่ยว ผ้าถุง เสื้อม่อฮ่อม โสร่ง ผ้าถุง ผ้าปาเต๊ะ
สินค้าและเสื้อผ้าชาวเขา คือสินค้าต่างๆและเสื้อผ้าที่มีลวดลายของชนเผ่าต่างๆทั้งแบบดั้งเดิมและแบบประยุกต์ให้เป็นแฟชั่น (ไม่ว่าจะเป็นกะเหรี่ยงหรือม้ง)
สายตา เช่น แว่นตาทุกประเภท คอนแทกเลนส์ บิ๊กอาย
กระเป๋า เช่น กระเป๋าเดินทาง กระเป๋าถือ กระเป๋าสะพาย เป้ กระเป๋าใส่เหรียญ กระเป๋าสตางค์ กระเป๋านักเรียน
นาฬิกา คือนาฬิกาข้อมือรูปทรงและสีสันต่างๆทั้งหมด
อุปกรณ์มือถือ เช่น มือถือ เคส ฟิล์มติดกระจก
รองเท้า เช่น รองเท้าแตะ รองเท้าหุ้มส้น ร้องเท้าผ้าใบ รองเท้าส้นสูง (ยกเว้นรองเท้าปีนเขาจะอยู่ในหมวดอุปกรณ์เดินป่า)
สื่อการเรียนและเครื่องเขียน (ถ้ามีอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ขอเขียนอย่างเดียว) เช่น โปสเตอร์สอนภาษา ลูกโลก แบบเรียน สมุด ดินสอ ยางลบ ไม้บรรทัด ดินสอสี ปากกา ไม้บรรทัด วงเวียน เมจิก กาว กระดาษบรู๊ฟ
เครื่องสำอาง เช่น ลิปสติก แป้งรองพื้น อายแชโดว์ ดินสอเขียนคิ้ว ยาทาเล็บ (ส่วนน้ำหอม ถ้ามีความโดดเด่น ขอเขียนแยก)
ของตกแต่ง เช่น ภาพวาด โมบาย กระดิ่ง ไม้แกะสลัก (แต่สินค้าบางอย่าง ถ้ามีจำนวนมากหรือลักษณะเด่น ก็อาจเขียนแยก)
เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า (ถ้ามีเฉพาะอย่าง ก็ขอเขียนอย่างเดียว) เช่น โทรทัศน์ ทีวี ตู้เย็น กระติกน้ำร้อน เครื่องเล่นดีวีดี พัดลม เตารีด เครื่องปรับอากาศ ไดร์เป่าผม ไมโครเวฟ สายไฟ ปลั๊กและปลั๊กพ่วง สายโทรศัพท์
เครื่องใช้ชาร์จแบตและถ่าน เช่น ไฟฉาย วิทยุสื่อสาร ลำโพงขนาดเล็ก เครื่องคิดเลข วิทยุพกพา รีโมทคอนโทรล นาฬิกาแขวนและปลุก พัดลมพกพา
เสื้อผ้าสูงวัย คือเสื้อผ้าคนแก่
ของเล่นเด็ก คือของเล่นเด็กทั่วไป
ตุ๊กตา หมายถึงตุ๊กตาขนนิ่ม มีทั้งการ์ตูนและสัตว์ อาจจะตัวเล็กเท่ามือหรือมีขนาดใหญ่แบบหมอนก็ได้ (ซึ่งเป็นคนละหมวดกับของเล่นเด็ก)
ดนตรี คือเครื่องดนตรีทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสากลหรือพื้นบ้าน เช่น กีตาร์โปร่ง โปงลาง กลอง ขิม ระนาด พิณ แคน แซกโซโฟน รวมทั้งซีดีหรือดีวีดีดนตรีบรรเลงและเพลง
พลุและประทัด
สินค้าจากศิลปิน
เทศกาล เช่น กระทงลอย ริบบิ้น ซองแต๊ะเอีย กระดาษห่อของขวัญ โคมลอย ซานตาคลอส ต้นคริสมาสต์
ศิลปะพื้นบ้าน ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องต่างๆ เช่น หนังตะลุง มโนราห์ ผีตาโขน
ชุดและอุปกรณ์ดำน้ำ
ชุดว่ายน้ำและเสื้อผ้าชายทะเล
ของเล่นชายหาด
ผลิตภัณฑ์รักษาสิ่งแวดล้อม
อุปกรณ์เพื่อสุขภาพ เช่น ลูกกลิ้งนวดกล้ามเนื้อ แผ่นนวดฝ่าเท้า เก้าอี้นวด
สินค้าดีไอวาย คือคนซื้อต้องออกแบบสินค้าจากตัวเลือกของทางร้านเพิ่มเอง ไม่ใช่งานแฮนด์เมดจากผู้ขาย
ชุดชั้นใน เช่น กางเกงในชายหญิง ยกทรง เสื้อซับใน ฯลฯ
กิ๊ฟช็อป เช่น โบว์มัดผม ที่คาดผม กิ๊บติดผม ยางรัดผม
ชุดนักเรียน
หมวดอื่นๆ
งานบริการ เช่น ซ่อมรองเท้า ท่องเที่ยว คลินิก ตัดเย็บเสื้อผ้า ลับมีด บาร์เบอร์ ดูดวง สักลาย ซ่อมกุญแจ ตัดแว่น ห่อของขวัญ เพนต์ลายเสื้อ เพนต์ลายเล็บ เสริมสวย แลกเงินต่างประเทศ กำจัดไฝ แกะสลักตัวอักษร วาดภาพคนเหมือนหรือการ์ตูนล้อเลียน รักษาพยาบาล
ชิงโชค เช่น สอยดาว สลากกาชาด
สวนสนุก เช่น ปราสาทสไลเดอร์ ชิงช้าสวรรค์ ม้าหมุน บ้านผีสิง รถบั๊มพ์ บันจี้แทรมโปลีน รถราง เรือ รถไฟ
มุมเด็ก เช่น ตุ๊กตาปูนพลาสเตอร์ ระบายสีเสื้อ วาดภาพสร้างสรรค์
เกมต่างๆ เช่น ยิงปืน ปาลูกดอก บิงโก สาวน้อยตกน้ำ ปากระป๋อง ตักไข่
เปิดหมวก (ในลักษณะบริจาคหรือสมทบทุน โดยใช้พื้นที่ไม่มาก) เช่น ร้องเพลง เล่นบีตบ๊อก ดนตรี โชว์หุ่นนิ่ง เต้น โฟลค์ซอง เพลงพื้นบ้าน
การแสดง (แบบใช้พื้นที่กว้าง อาจเปิดโล่งหรือมีรั้วรอบขอบชิดก็ได้) เช่น คอนเสิร์ต ความสามารถสัตว์ งิ้ว ลิเก หนังตะลุง โชว์ของแปลก
กิจกรรม หมายถึงผู้คนที่มาเที่ยวงานมีส่วนร่วมกับการกระทำใดๆ เช่น ช่วยกันพับกระทง ช่วยกันพับดอกไม้กระดาษ ฯลฯ
หมวดรวม
ยาสมุนไพร คือสมุนไพรที่ใช้ภายนอกและภายใน (มีทั้งยาสมุนไพรไทย เช่ย ยาหอม น้ำมันเหลือง พิมเสน ยาหม่อง ฯลฯ และสมุนไพรจีน เช่น น้ำมันกวางลุ้ง (ส่วนของกิน ได้อธิบายไว้ก่อนหน้าแล้ว) ถ้ายาสมุนไพรไทยหรือจีนโดดเด่น ก็ขอเขียนแยก)
สินค้าถูกราคาเดียว คือสินค้าในหมวดของใช้ที่กล่าวมาแล้ว แต่นำมาขายรวมกันในราคาถูกและราคาเดียว เช่น 10 บาท 20 บาท
สินค้าแฟชั่น คือสินค้าในหมวดของใช้ที่กล่าวมาแล้ว แต่ออกแบบหน้าตาสินค้าให้แปลก สะดุดตา ไม่เหมือนสินค้าแบบเดิม (หรือสินค้าแนวใหม่ที่มีลูกเล่นต่างๆ เข้ากับยุคปัจจุบัน) เช่น หมอนปลาทู รองเท้ารูปสัตว์ ปากกาการ์ตูน ผ้าปิดหน้าลวดลาย ตัวรีดลายลงเสื้อ
ขนม(หรือของกิน)ของฝาก คือสินค้าในหมวดของกินที่กล่าวมาแล้ว แต่มีความเกี่ยวข้องกับสถานที่ท่องเที่ยวหรือแหล่งชุมชนนั้นๆ
สินค้าขาย(ปลีก)ส่ง คือสินค้าในหมวดของกินของใช้ที่กล่าวมาแล้ว แต่เป็นสินค้าขายส่ง แต่อาจขายปลีกด้วย
สินค้าโอทอป คือสินค้าในหมวดของกินของใช้ที่กล่าวมาแล้ว โดยดูจากข้อมูลที่ผู้ขายกำหนดว่า เป็นสินค้าโอทอป(จากผู้ผลิตท้องถิ่น)หรือไม่ ทีมงานไม่ขอกำหนดเอง แต่ถ้าทางร้านไม่ได้กำหนดไว้ ก็จะเขียนตามหมวดของสินค้าประเภทนั้นๆแทน
สินค้าที่ระลึก(หรือของที่ระลึก) คือสินค้าในหมวดของใช้ที่กล่าวมาแล้ว แต่มีความเกี่ยวข้องกับสถานที่นั้นๆ (ยกเว้นเสื้อที่ระลึกมีลวดลายและชื่อของสถานที่นั้นๆ ขอแยกออกมาในทุกกรณี สำหรับโปสการ์ด ถ้าโดดเด่น ก็ขอแยกเช่นกัน)
สินค้าเบ็ดเตล็ด คือร้านที่นำของใช้ชิ้นเล็กชิ้นน้อยจากสารพัดหมวดมาวางจำหน่ายอย่างละนิดอย่างละหน่อย หมวดละหนึ่งหรือสองอย่างเป็นสิบๆหมวด และราคาก็แตกต่างกันไป
คำอธิบายเพิ่มเติม
1.ในกรณีที่เป็นสถานใหญ่และกว้างขวาง ที่ใดไม่มีการอธิบายลักษณะแผงลอย(และช่องทางเดิน) แสดงว่าเป็นตลาดที่มีเนื้อหามากจนไม่สามารถลงรายละเอียดได้ครบ และเนื่องจากทีมงานมีเกณฑ์ในการบอกเล่าอยู่ ดังนั้นข้อมูลที่สำคัญน้อยสุดตามลำดับจะถูกคัดออกก่อนเพื่อความพอดีของเนื้อหา ในกรณีที่มีเนื้อหามาก สินค้าบางประเภทอาจรวบให้อยู่ในหมวดใหญ่แทน
2.ของกินและของใช้ที่จัดตามหมวดอยู่แล้ว แต่ถ้ามีการเขียนแยกหรือไม่มีในหมวดที่ระบุไว้ แสดงว่ามีความโดดเด่นทั้งเรื่องประเภทและปริมาณ สำหรับของกินของใช้ที่มีการทับซ้อนกันของหมวดต่างๆ คงต้องขึ้นอยู่กับภาพรวมของสถานที่ในขณะนั้นว่าจะให้อยู่ในหมวดใดหรือกระจายหมวดไป (อนึ่ง ถ้ามีการทับซ้อน ผู้อ่านจะยิ่งเห็นภาพสินค้าของสถานที่นั้นได้มากขึ้น)
3.ทีมงานได้รวบรวมข้อมูลของกินของใช้ในแต่ละสถานที่เพื่อเป็นข้อมูล แต่บางครั้งพ่อค้าแม่ค้าหรือชาวบ้านอาจผลัดเปลี่ยนกันมาขาย หรือสินค้าบางอย่างขายตามฤดูกาลและมีเฉพาะเทศกาล ข้อมูลก็อาจคลาดเคลื่อนหรือมีการเปลี่ยนแปลงได้บ้าง
อนึ่ง คำเฉพาะของชื่อของกิน สถานที่ และสิ่งของใดๆก็ตามที่เป็นภาษาท้องถิ่น ถ้าเกิดมีการสะกดหรือออกเสียงผิดเพี้ยนไปบ้าง รวมทั้งข้อมูลใดที่ลงรายละเอียดไว้ แล้วเกิดความคลาดเคลื่อนไป ก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ (ผู้อ่านท่านใดที่เป็นคนท้องถิ่นนั้นๆและทราบการออกเสียงที่ถูกต้องหรือข้อมูลที่ถูกต้อง สามารถช่วยแก้ไขเพื่อความสมบูรณ์ของเนื้อหาได้ ทีมงานขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย)
TODAY | THIS MONTH | TOTAL | |||
175 | 2127 | 302588 |