ศาลากลางจังหวัดพังงา

คำอธิบาย


ศาลากลางจังหวัดพังงา(หลังเก่า)ตั้งอยู่ที่ตำบลท้ายช้าง อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2473 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 7 โดยมีพระยาบริรักษ์ภูธร (เพิ่ม กนิษฐายน) เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดในขณะนั้น ใช้งบก่อสร้าง 500,000 บาท โดยก่อนหน้านั้นในสมัยรัชกาลที่ 3 พระองค์ทรงพระราชดำริที่จะปรับปรุงบูรณะหัวเมืองชายฝั่งตะวันตกให้เข็มแข็งและแต่งตั้งให้พระยาบริรักษ์ภูธร (แสง ณ นคร) เป็นเจ้าเมืองพังงาคนแรกในปี พ.ศ.2343 ต่อมาในปี พ.ศ.2459 มีการเปลี่ยนชื่อเป็นจังหวัดพังงาและเปลี่ยนตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด จากนั้นในสมัยรัชกาลที่ 7 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ มีการยุบเมืองตะกั่วป่ามาขึ้นกับจังหวัดพังงาและย้ายที่ตั้งศาลากลางจังหวัดจากที่เดิมซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านชายค่ายมาตั้งที่บ้านท้ายช้างในปี พ.ศ.2473 จนกระทั่งปี พ.ศ.2515 จึงย้ายไปตั้งที่หน้าถ้ำพุงช้าง ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลากลางจังหวัดในปัจจุบัน

ปัจจุบันศาลากลางจังหวัดพังงาหลังเก่าได้รับการบูรณะและปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์เมืองพังงาและสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพังงา กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2530 มีพื้นที่ 2 ไร่ 3 งาน 90 ตารางวา



ศาลากลางจังหวัดพังงา(หลังเก่า)ตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษมในตัวอำเภอเมืองพังงา ด้านหน้าศาลากลางเป็นลานสนามกว้าง ขณะที่ด้านหลังเป็นเขาช้างที่มีชื่อเสียงของจังหวัด ทำเลแบบนี้ถือว่าดีงามเลย และทุกต้นปียังมีงานกาชาดที่หน้าศาลากลางจังหวัดหลังเก่าด้วย
บน – ศาลากลางจังหวัดพังงาหลังเก่ามีบรรยากาศสวยงาม (จากภาพ สถาปัตยกรรมของอาคารเป็นตึกชั้นเดียวทรงปั้นหยา หลังคามุงกระเบื้องว่าวซีเมนต์ กึ่งกลางอาคารด้านหน้าต่อเป็นหน้ามุขเปิดโล่ง มีระเบียงยาวตลอดตัวอาคาร ปลายปีกอาคารทั้งสองข้างเป็นห้องโถงใหญ่ เสาเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ส่วนผนังก่ออิฐถือปูน)



 

เดี๋ยวทีมงานพาเดินชมสถาปัตยกรรมกัน
ซ้ายบน – กลางอาคารด้านหน้าสร้างเป็นมุขยื่นออกมา ด้านซ้ายของอาคารสร้างเป็นทางลาดสำหรับรถเข็นเข้าออกอาคาร ขณะที่ด้านขวาทำเป็นบันไดขึ้นลงอาคาร
ขวาบน – เรามาชมด้านหน้าในระยะใกล้บ้าง
ซ้ายกลาง – ทีมงานพามาดูด้านข้างอาคารสักหนึ่งด้าน ขอเป็นด้านซ้ายแล้วกัน นักท่องเที่ยวจะเห็นระเบียงอาคารเป็นแนวยาว ปลายปีกอาคารเป็นห้องโถง(ซึ่งก็มีทั้งสองฝั่ง)และมีทางลาดเลียบระเบียงอาคารเฉพาะด้านซ้ายอย่างที่บอกไป ส่วนด้านขวาทำเป็นบันไดขึ้นลงอย่างเดียว ไม่มีทางสโลป
- ตอนนี้เข้าไปชมด้านในบ้าง
ซ้ายล่าง – ระเบียงอาคารฝั่งที่เป็นบันไดขึ้นลง (จากภาพ พื้นอาคารเป็นไม้)
ขวากลาง – ระเบียงอาคารฝั่งที่เป็นทางลาด
ขวาล่าง – พื้นที่บริเวณมุขอาคารทำเป็นมุมโต๊ะเก้าอี้


TODAY THIS MONTH TOTAL
161 2317 251535
Copyright : 2018 KarnDernTang.com ขอสงวนลิขสิทธิ์เนื้อหาในเว็บไซต์ตามกฎหมาย ห้ามทำซ้ำหรือคัดลอกโดยไม่ได้รับอนุญาต

บริษัทรับทำเว็บไซต์ Design By cw.in.th

Scroll To Top